กระแจะ
Naringi creanulate (Roxb) Nitcolson
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
กระแจะ
วงศ์
RUTACEAE
ชื่ออื่นๆ
ตะนาว, ชะแจะ, ดุมตัง, พญายา
กลุ่ม
ไม่มี
ลักษณะทั่วไป

กระแจะมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก กิ่งก้านมีหนาม ใบประกอบแบบขนนกเรียบเรียงสลับรูปวงรีแกมไข่สลับ ก้านแผ่เป็นปีก ดอกช่อออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว ผลเป็นผลสด รูปทรงกลม

สรรพคุณ

เปลือกและเนื้อไม้มีสรรพคุณลดไข้ เจริญอาหารบำรุงจิตใจให้ชุ่มชื่นแจ่มใส รากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ใบมีสรรพคุณแก้ลมชัก แก้ไข แก้ปวดข้อและกระดูก คุมกำเนิด ลำต้นมีสรรพคุณแก้โรคผิวหนังมีผื่นคัน แก้ปวดตามข้อปวดเมื่อย แก้ร้อนใน

น่ารู้

ใช้กิ่งอ่อนบดละเอียดผสมทำธูปหรือแป้ง มีกลิ่นหอมใช้ฝนทาผิว ทำให้นวลและหอม
ในประเทศพม่า มีพืชชนิดหนึ่งเรียกว่า ทานาคา นิยมใช้บดเป็นผงละเอียดทาผิวเพื่อให้ผิวนวลและป้องกันแดด พืชชนิดนี้อย่ในวงศ์และสกุลเดียวกับกระแจะ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Limonia acidissima L. และมีพืชที่เรียก กระแจะ อีกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ochna wallichii Planch. อยู่ในวงศ์ Ochnaceae มีชื่ออื่นๆคือ คงคราน, ตานเหลือง, ตานนกกด, ตาชีบ้าง, ช้างน้าว, ช้าวสารซับมัน (ใต้) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบเดี่ยว รูปไข่ปลายแหลม ดอกสีเหลืองส้ม ขนาด 1.5-3 ซม. เป็นช่อออกดอกในช่วงผลัดใบ พร้อมกับออกใบอ่อน เกิดตามป่าดงดิบเขา ป่าเบญจพรรณในเขตร้อน

วิจัย

เปลือกต้นมีสารประกอบ Sitosterol, 4-methoxy-1-methy-2-quinolone และ coumarins