ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
กระชาย
วงศ์
ZINGIBERANCEAE
ชื่ออื่นๆ
กระแอน, ว่านพระอาทิตย์
|
|
กลุ่ม
ไม่มี
ลักษณะทั่วไป
กระชายเป็นไม้ล้มลุก ไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินเนื้อสีเหลืองมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปขอบขนานแกมรูปไข่ ดอกออกเป็นช่อที่ยอด ช่อดอกมีใบประดับเรียงทะแยงกัน กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู
สรรพคุณ
หัวมีสรรพคุณแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ท้องร่วง แก้บิด ขับระดู บำรุงความกำหนัด บำรุงกำลัง
แก้กลากเกลื้อน ขับปัสสาวะ แก้แผลในปาก แก้ไอเรื้อรัง แก้ใจสั่น ใบมีสรรพคุณแก้โรคในปาก ในคอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษ บำรุงธาตุ แก้โลหิตระดูสตรี
น่ารู้
เหง้าและรากกระชายมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องแกง เพื่อดับกลิ่นคาวเนื้อและปลา ต้นอ่อน กินสดเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก กระชายที่ใช้ประกอบอาหารหรือกระชายเหลือง เป็นพืชในสกุล Boesenbergia acuminnata P. Sirirugsa, Boesnbergia baimaiispicata S. Saennsouk& K. Larsen, Boensenbergia basic K. Larsen ex P. Sirirugsa, Boesnbergia gelatinosa K. Larsen, Boesnbergia petrlata P. Sirigusa, Boesnbergia siammensis (Gagnep) P. Sirirugsa, Boesnbergiatenuispicata K. Larsen,c]t Boensenbergia K. Larsen ส่วนกระชายดำ (Kaempferia parviflora Wallich. ex Baker. )ไม่ใช่กระชายเป็นพืชในตระกูลเปราะ เช่นเดียวกับเปราะหอม (Kaempferia galanga L.) และ เปราะป่า (kaempferia Marginata Carey)
วิจัย
เหง้ามีน้ำมันหอมระเหย มีสารสำคัญได้แก่ Pinostrobin, alpinetin, boesenbergin A, panduratin, alpinetin,
A และ Isopanduratin A ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านการอักเสบ