ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ
กรรณิการ์
วงศ์
NYCTANTHACEAE
ชื่ออื่นๆ
กณิการ์, กรรณิการ์
|
|
กลุ่ม
ไม่มี
ลักษณะทั่วไป
กรรณิการ์มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย เป็นไม้พุ้มยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นและกิ่งก้านจะเป็นเหลี่ยม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปใข่ ใบสาก ดอกช่อ สีขาว โคนกลีบดอกเป็นสีส้มแดง ดอกของกรรณิการณ์ มีกลิ่นหอมแรง บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี ผลแบนรูปไข่กลับ เมื่อแห้งแตกได้
สรรพคุณ
รากมีสรรพคุณขับลม บำรุงผวหนังให้สดใส บำรุงกำลัง แก้ผมหงอก ต้นมีสรรพคุณแก้ปวดศรีษะ แก้ไข้ ใบมีสรรพคุณบำรุงน้ำดี ขับน้ำดี แก้ปวดตามข้อ เป็นยาระบาย เป็นยาเจิญอาหาร แก้ปวดท้อง แก้ไข้ ดอกมีสรรพคุณ บำรุงหัวใจ แก้พิษทั้งปวง
น่ารู้
น้ำคันจากส่วนของก้านดอกที่เป็นหลอดสีส้ม ใช้แต่งสีขนมให้มีสีเหลือง
เช่น ขนมน้ำดอกไม้ และยังใช้ย้อมผ้าให้มีสีเหลืองทอง ในสมัยโบราณเคยใช้ย้อมจีวรพระ
วิจัย
เมล็ดมีสาร nyctanthic acid, oleanolic acid และสารประกอบ iridoid glucosides ชื่อ
arbortristoside A และ B ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อ leishmania สารสกัดจากใบ มีฤทธิ์ยับยั้งการบาดเจ็บที่ปวดอันเนื่องมาจาก silica